หน้าหลัก
สังคม
ภาษาอังกฤษ
ฟิสิกส์
คณิตศาสตร์
ชีววิทยา
เคมี
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558
บทที่
4
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศ เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
อ่านเพิ่มเติม
บทที่
2
อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ
แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมือง
อ่านเพิ่มเติม
บทที่
1
คำนมัสการคุณานุคุณ
คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 3 นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย
โดยมีชื่อเดิมว่า
“
เวตาลปัญจวิงศติ
”
ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน
ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง
25
เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน
9
เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์
อีก
1
เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ
10
เรื่อง เมื่อ พ.ศ.
2461
นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่
ประวัติผู้แต่ง
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า
“
น.ม.ส.
”
ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า)
“
รัชนีแจ่มจรัส
”
ลักษณะคำประพันธ์
นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้วโดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น
อ่านเพิ่มเติม
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)